วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การจองแบบเบ็ดเสร็จ(GDS)และระบบอะมาดิอุส


        การจองเบ็ดเสร็จ(Global Distribution System-GDS)เป็นระบบการสำรองที่นั่งสายการบินที่ได้พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังผู้ใช้ทั่งโลก พร้อมทั้งเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการสำรองที่นั่งกับธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรือแม้แต่ธุรกิจการทันเทิงผักพ่อนหย่อนใจ เหตุผลที่สายการบินส่วนใหญ่นั้นเลือกใช้ระบบจัดจำหน่ายแบบเบ็ดเสร็จของระบบอะมาดิอุสมาใช้เป็นระบบสำรองที่นั่งของตนเองรวมทั้งใช้เป็นระบบจัดจำหน่ายให้กับตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยและทั่วโลก โดยได้รับสิทธิในการจัดจำหน่ายระบบอะมาดิอุสให้กับทั่วแทนจำหน่ายในประเทศไทยและทั่วโลกโดยได้รับสิทธิในจำหน่ายระบบอะมาดิอุสให้กับตัวแทนจำหน่ายในลักษณะที่เรียกว่า National Marketing Company (NMC) นอกจากนี้ระบบอะมาดิอุสเป็นระบบสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เป็นที่ 2 รองจากระบบ Sabre และใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ร่วมก่อตั้งโดยสายการบินใหญ่ในยุโรป 4 สาย คือ SAS(Scandinavian Airlines System), Air France, Lufthansa และ Iberia ในปี 1987 และการบินไทย (TG) ได้เข้าร่วมเป็น Partner Airlines ในปี 1988.
        จุดเด่นของระบบอะมาดิอุส (Amadeus) คือ ระบบที่นำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมผนวกเข้ากับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาในลักษณะสายผลิตภัณฑ์ ได้อย่างรวดเร็วและทันกับความต้องการของผู้ใช้โดยสาร ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ เช่น
    1. ระบบสำรองที่นั่งหลัก (Central System) ที่เป็นระบบออกแบบโดยใช้ปรัชญา "User Friendly"
    2. ระบบ Front Office ที่ออกแบบโดยอาศัยความสามารถของ PC-Window เรียกว่า Amadeus pro Tempo
    3. ระบบการสำรองที่นั่งผ่านระบบ Internet
    4. ระบบการนำเสนอข้อมูลการสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสามารถใช้เป็น Information System เรียกว่า Amadeus Interface Record sinv AIR
       และสิ่งสำคัญของระบบการจัดจำหน่ายแบบเบ็ดเสร็จ(GDS) ซึ่งผูออกแบบได้ยึดหลักการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้หลักคือบริษัทตัวแทนจำหน่าย ซึ่งระบบได้พัฒนามารองรับ คือ
    1. ความรวดเร็วต้องเป็นระบบ GDS ที่ให้ข้อมูลกับผู้ใช้งานในทันที ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างของระบบโดยเฉพาะในส่วนที่เป็น Mainframe และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมต้องเป็นแบบที่ศักยภาพสูง อีกทั้งเป็นระบบ GDS ใหญ่เช่น Amadeus ที่มีผู้ใช้กว่า 100,000 เครื่องทั่วโลก
    2. ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy & Reliability) ต้องเป็นระบบ GDS ที่สามารถนำข้อมูลของสายการบิน บริษัทตัวแทนจำหน่าย โรงแรม รถเช่า และอื่นๆมาแสดงต่อผู้ใช้อย่างแม่นยำถูกต้อง ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบระบบ Online ไม่ว่าจะเป็น Technology เช่น Host to Host Connection หรือ EDI จะต้องนำมาใช้ให้ถูกต้องกับการเชื่อมต่อระบบในแต่ละระดับ
    3. ความง่ายต่อการเรียกข้อมูล (Available) ต้องเป็นระบบ GDP ที่นำเอาข้อมูลมาใช้ด้วยการเรียก (Input) ที่ง่ายไม่ซับซ้อน หรือที่เรียกว่า User Friendly อีกทั้งมีความสะดวกมากในการเรียกใช้ข้อมูล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระบบสื่อสารที่มีศักยภาพสูง เช่น การใช้ Fiber Optics หรือการใช้การเชื่อมระบบผ่านดาวเทียม(Satellite)
       
         สิ่งที่ควรทราบในการสำรองที่นั่งด้วยระบบ GDS ที่สำคัญได้แก่
    1. องค์ประกอบการเดินทางของผู้โดยสาร (Itinerary Element) ประกอบด้วย
        - เที่ยวบินของผู้โดยสาร
        - ชั้นที่นั่งบนเครื่องของผู้โดยสาร
        - เมืองต้นทางและเมืองปลายทางของผู้โดยสาร
        - เวลาที่ออกและเวลาที่ถึง
        - จุดแวะ
        - เครื่องบินที่ใช้บิน
        - ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง
     2. องค์ประกอบของชื่อผู้โดยสาร (Name Element) ประกอบด้วย
        - ชื่อนามสกุล
        - ชื่อผู้โดยสาร
        - เพศ
        - สถานะว่าเป็น ผู้ใหญ่ เด็ก หรือทารก
     3. องค์ประกอบของตั๋วโดยสาร (Ticketing Element) จะประกอบด้วย
        - ผู้โดยสารมีบัตรโดยสารหรือยัง
        - ถ้ายังไม่มีบัตรโดยสาร เจ้าหน้าที่สำรองที่นั่งจะกำหนดเวลาและวันที่ให้ผู้โดยสารมารับบัตรโดยสาร
        - ถ้ามีบัตรโดยสารแล้ว เจ้าหน้าที่จะใส่หมายเลขบัตรโดยสารลงไป
     4. องค์ประกอบในการติดต่อ (contact Element) ประกอบด้วย
        - หมายเลขโทรศัพท์ของผู้โดยสาร หรือผู้ทำการสำรองที่นั่งแทนพร้อมชื่อที่สายการบินสามารถติดต่อได้
        - บันทึกชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ทำการสำรองที่นั่งลงในคอมพิวเตอร์เพื่อจะได้ติดต่อในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่นการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน
     5. การขอบริการพิเศษต่างๆ เช่น อาหารพิเศษ,เก้าอี้ล้อเข็นคนไข้,ผู้โดยสารเด็กหรือทารก เป็นต้น
     6. คำย่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างสายการบิน เช่น City codes/Airport codes,Airline code.
     7. คำย่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์
     8. การอ่านตารางสายการบิน (Airline Schedule)
     9. การบันทึกข้อมูลของผู้โดยสารและการอ่านข้อมูลในการบันทึกข้อมูลผู้โดยสาร ประกอบด้วย
        - ชื่อผู้โดยสาร (Passenger name)
        - รายการเดินทาง (Segment) เช่น เที่ยวบิน,ชั้น,วันที่บิน,เส้นทาง,เวลาเข้าออก เป็นต้น

        - เบอร์โทรศัพท์และสถานที่ติดต่อกับผู้โดยสาร เป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องระบุใน passenger Name Record (PNR) ทุกครั้ง